ประกาศ
สมาชิกไม่ได้รับความสะดวกหรือการบริการที่ไม่ประทับใจ สามารถร้องเรียนผ่านช่องทาง ดังนี้
• ผ่านทางเวบไซต์สหกรณ์ http://www.sahakornthai.com/khamcha-i
• ผ่านทาง Facebook ที่ https://web.facebook.com/kcico.op
• ผ่านทาง Line กลุ่มสหกรณ์ ID Line : kcicoop
• ผ่านทาง E-mail : kcico-op@hotmail.co.th
• ผ่านทางผู้จัดการ โทร.091-0632940 นายจักรกริช ทิพนัส
• ผ่านทางจดหมาย ส่งถึงสำนักงานสหกรณ์การเกษตรคำชะอี จำกัด
พระราชบัญญัติสหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562
พระราชบัญญัติสหกรณ์(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2553 ลงวันที่ 9 เมษายน 2553
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2542
ข้อบังคับสหกรณ์การเกษตรคำชะอี จำกัด
ร่างข้อบังคับสหกรณ์การเกษตร
ข้อบังคับสหกรณ์การเกษตรคำชะอี จำกัด พ.ศ.2560
ระเบียบสหกรณ์การเกษตรคำชะอี จำกัด
¤ หมวดว่าด้วยทุนสะสมตามข้อบังคับ ¤
ระเบียบ ว่าด้วยเงินทุนสะสมเพื่อขยายงาน พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยเงินทุนสะสมเพื่อการศึกษาอบรม พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยเงินกองทุนสาธารณประโยชน์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการใช้เงินทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล พ.ศ.2562
¤ หมวดว่าด้วยเจ้าหน้าที่ อนุกรรมการ และที่ปรึกษาสหกรณ์ ¤
ระเบียบ ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยคณะอนุกรรมการ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสหกรณ์ พ.ศ.2562
¤ หมวดว่าด้วยการเงินและบัญชี ¤
ระเบียบ ว่าด้วยการรับฝากเงินจากสมาชิก พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการรับเงินฝากจากสหกรณ์อื่น พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยเงินยืมทดรองและการส่งใบสำคัญคู่การจ่ายเงิน พ.ศ.2562
¤ หมวดว่าด้วยการให้เงินกู้ ¤
ระเบียบ ว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่น พ.ศ.2562
¤ หมวดว่าด้วยการดำเนินธุรกิจ ¤
ระเบียบ ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการขายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเงินเชื่อ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ พ.ศ.2562
¤ หมวดว่าด้วยสวัสดิการ ¤
ระเบียบ ว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาบุตรเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เจ้าหน้าที่สหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักในการเดินทาง สำหรับ กรรมการ เจ้าหน้าที่ลูกจ้าง
และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานสหกรณ์ พ.ศ. 2562
¤ หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด ¤
ระเบียบ ว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้แก่สมาชิกสหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการลงลายมือชื่อแทนสหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการทำการเกี่ยวกับทรัพย์สินของสหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการจัดการหนี้ของสมาชิก พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการใช้เงินทุนสะสมเพื่อขยายงาน พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยกลุ่มสมาชิก พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยเงินกองทุนสงเคราะห์และสวัสดิการโค พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการส่งเสริมสมาชิกสหกรณ์เลี้ยงโคขุน พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้างของสหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการควบคุมและการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการจัดตั้งและการดำเนินงานธนาคารสินค้าเกษตร พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการดูแลรักษา พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการใช้รถฟาร์มแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว การใช้บริการและการซ่อมแซมรถฟาร์มแทรกเตอร์
รถเกี่ยวนวดข้าว พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการควบคุมและการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรของสหกรณ์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการใช้เครื่องมือทุ่นแรง การใช้บริการและการซ่อมแซมเครื่องทุ่นแรง พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการควบคุมและการใช้รถยนต์ พ.ศ.2562
ระเบียบ ว่าด้วยการใช้ การเก็บรักษา การซ่อมบำรุงรถยนต์ของสหกรณ์ พ.ศ.2562
อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์
อุดมการณ์สหกรณ์
คือ แนวความคิดที่เชื่อว่าวิธีการสหกรณ์จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลสมาชิก ให้มีความอยู่ดีกินดีและมีสันติสุขโดยการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
หลักการสหกรณ์
หลักการสหกรณ์ที่ถือใช้ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากระเบียบปฏิบัติของผู้นำแห่งเมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อตั้งร้านสหกรณ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2387 ซึ่งนับได้ว่าเป็นร้านสหกรณ์แห่งแรกของโลกที่ดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ระเบียบปฏิบัติร้านสหกรณ์ของผู้นำแห่งเมืองรอชเดลในสมัยแรกได้มีการปรับปรุงแก้ไขและปรากฎหลักฐานใน พ.ศ. 2403 ดังต่อไปนี้
1. เงินทุนควรมาจากผู้ถือหุ้นและจำกัดอัตราเงินปันผล
2. การจัดหาสินค้าคุณภาพให้แก่สมาชิก
3. ความเที่ยงตรงในการชั่ง ตวง วัด
4. ขายสินค้าเงินสดตามราคาตลาด
5. กำไรจัดสรรตามส่วนซื้อของสมาชิก
6. ความเสมอภาคในการเป็นสมาชิกและการออกเสียง
7. การจัดการโดยพนักงานและกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งตามระยะเวลา
8. กำไรจำนวนแน่นอนควรจัดสรรเพื่อการศึกษา
9. รายงานและงบดุลควรนำเสนอสมาชิกได้บ่อยครั้ง
ถึงแม้ว่าระเบียบปฏิบัติของสหกรณ์รอชเดล จัดตั้งขึ้นมาก่อนหนึ่งร้อยปีแล้ว และเป็นการตั้งขึ้น เพื่อใช้เฉพาะกับร้านสหกรณ์ก็ตาม แต่หลักการบางข้อสามารถนำมาใช้กับสหกรณ์ทั่ว ๆ ไปได้ ซึ่งเรื่องนี้ องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (องค์การ ไอซีเอ) ได้มีการประชุมปรึกษากัน ณ กรุงเวียนนาประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 โดยนำเอาระเบียบปฏิบัติของรอชเดลมาแก้ไข ปรับปรุงใหม่ และได้ส่งมติกำหนดเป็นหลักการสหกรณ์ 6 ประการ คือ
1. การเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจและไม่กีดกันการเข้าเป็นสมาชิก
2. การควบคุมตามหลักประชาธิปไตยและการดำเนินการเป็นอิสระ
3. การจำกัดอัตราเงินปันผลตามหุ้น
4. การจัดสรรรายได้สุทธิ ( กำไร ) เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและความเป็นธรรมในหมู่สมาชิก
5. การส่งเสริมการศึกษาอบรมทางสหกรณ์
6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ทั้งปวง
และหลักการสหกรณ์ 6 ประการนี้มีการถือใช้มาตลอด จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2538 องค์การสัมพันธภาพระหว่างประเทศ ได้จัดการประชุม ณ นครแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมหลักการสหกรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้หลักการสหกรณ์มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันยิ่งขึ้นรวมทั้งการให้สมาชิกได้มีความเข้าใจและนำหลักการสหกรณ์ไปใช้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ซึ่งมีหลักการสหกรณ์ 7 ประการ และได้มีการประกาศให้สหกรณ์ทุกประเทศถือใช้โดยทั่วกัน
สหกรณ์
คือ สมาคมที่เป็นอิสระของบุคคลที่มารวมตัวกันด้วยความสมัครใจดำเนินกิจการที่เป็นเจ้าของร่วมกันและมีการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการและความมุ่งมั่นรวมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คุณค่าของสหกรณ์
สหกรณ์ยึดมั่นในคุณค่าของการพึ่งพาตนเอง ความรับผิดชอบตนเองการเป็นประชาธิปไตย การมีสิทธิทัดเทียมกัน ความเที่ยงธรรมและความสามัคคีโดยมีสมาชิกที่เชื่อมั่นในคุณค่าทางจริยธรรมของความซื่อตรง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคมและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ตามแบบแผนที่สืบทอดต่อกันมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์ หลักการสหกรณ์
หลักการสหกรณ์เป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์ต่าง ๆ ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ
หลักการที่ 1 การเปิดรับสมาชิกโดยทั่วไปตามความสมัครใจ สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจ เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิก เข้าเป็นสมาชิกโดยปราศจากการกีดกันทางเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา
หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามแนวทางประชาธิปไตย สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิก ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นผู้แทนสมาชิก ต้องรับผิดชอบต่อสมาชิก ในสหกรณ์ชั้นปฐม สมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่น ๆ ก็ดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน
หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก สมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน (ซื้อหุ้น) ในสหกรณ์ของตนเองอย่างเสมอภาคกัน และมีส่วนในการควบคุมการใช้เงินทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อย ๆ ส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ โดยปกติสมาชิกจะได้รับผลตอบแทน (ถ้ามี) ในอัตราที่จำกัดตามเงินลงทุน (หุ้น) ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก สมาชิกสามารถจัดสรรเงินส่วนเกินของสหกรณ์ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่างดังนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ โดยอาจกันไว้เป็นเงินสำรองซึ่งอย่างน้อย ๆ จะต้องมีส่วนหนึ่งที่นำมาแบ่งปันกันไม่ได้ เพื่อตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธุรกิจที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
หลักการที่ 4 มีการปกครองตนเองและมีอิสระ สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาตนเองและปกครองตนเอง โดยมีการควบคุมจากมวลสมาชิก หาก สหกรณ์จะต้องมีข้อตกลงผูกพันธ์กับองค์การอื่นใด ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐบาลด้วย หรือจะต้องเพิ่มเงินลงทุน โดยอาศัยแหล่งเงินทุนภายนอกสหกรณ์ สหกรณ์จะต้องกระทำการดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงธำรงไว้ ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตยและสหกรณ์ยังคงดำรงความเป็นอิสระ
หลักการที่ 5 การให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่สมาชิก ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง ผู้จัดการและพนักงาน เพื่อให้บุคลากรเหล่านี้สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิผล และพึงให้ข่าวสารแก่สาธารณชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและประโยชน์ของสหกรณ์
หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ สหกรณ์จะสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
หลักการที่ 7 ความห่วงใยต่อชุมชน สหกรณ์พึงดำเนินกิจการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยั่งยืนตามนโยบายที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
วิธีการสหกรณ์
คือ การนำหลักการสหกรณ์มาใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งสหกรณ์แต่ละประเภทจะมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป เช่น การจัดตั้ง การระดมทุน การบริหารงาน การดำเนินธุรกิจ และการส่งเสริมประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยกำหนดวิธีปฏิบัติไว้ในข้อบังคับสหกรณ์
หมวดหมู่รอง
Page 2 of 4
เกี่ยวกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ บริการประชาชน
ประวัติกรมส่งเสริมสหกรณ์ การสร้างการรับข้อมูลกฎหมายแก่ประชาชน
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ คู่มือบริการประชาชน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
แผนงานงบประมาณ จองชื่อสหกรณ์ Online
คำรับรองปฏิบัติราชการ คลินิกกฎหมายสหกรณ์
แผนกลยุทธ์ ห้องสมุด Online กรมส่งเสริมสหกรณ์
เว็บไซต์และอีเมล์หน่วยงาน สถิติสหกรณ์
12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 Email : cms@cpd.go.th