วัตถุประสงค์ของสหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์การเกษตรดําเนินธุรกิจแบบอเนกประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดําเนินธุรกิจร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามพื้นฐานของ มนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์
ทําไมต้องจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร
เนื่องจากในการประกอบอาชีพของเกษตรกร มักประสบปัญหาต่างๆ ที่สําคัญๆ ดังนี้
1. ขาดแคลนเงินทุน เงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพมีไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืมจากพ่อค้าหรือ นายทุนในท้องถิ่น ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยแพง
2. ขาดแคลนที่ดินทํากิน เกษตรกรบางรายมีที่ดินทํากินน้อย บางรายไม่มีที่ดินทํากินเป็นของ ตนเอง ต้องเช่าที่ดินผู้อื่นทํากิน โดยเสียค่าเช่าแพงและถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเช่า
3. ปัญหาในเรื่องการผลิต เกษตรกรขาดความรู้เกี่ยวกับการผลิตสมัยใหม่ที่ถูกต้อง เช่น การใช้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ทําให้ผลผิตที่ได้รับต่ําไม่คุ้มกับการลงทุน นอกจากนั้นผล ผิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ และไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ขาดปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็น เช่น ระบบ ชลประทาน
4. ปัญหาการตลาด เกษตรกร ถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการชั่ง ตวง วัด และมีความ จําเป็นต้องจําหน่ายผลผลิตตามฤดูการ เนื่องจากไม่มีที่เก็บรักษาผลผลิต จึงถูกกดราคาจากพ่อค้าเป็นเหตุให้ไม่ มีรายได้เพื่อนํามาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบ ครัว
ปัญหา ทางเศรษฐกิจข้างต้น มีผลกระทบต่อสังคมในชุมชน ทําให้คุณภาพชีวิตและฐานะความ เป็นอยู่ต่ํากว่าคนประกอบอาชีพอื่น ขาดการศึกษา การอนามัย และขาดความปลอดภัยในทรัพย์สิน
สหกรณ์การเกษตรจะช่วยท่านได้อย่างไร ?
จาก ปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ทั่วไป ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นเรื่องยากที่เกษตรกรแต่ละคน จะแก้ปัญหาได้สําเร็จตามลําพังตนเอง หนทางที่จะสําเร็จได้โดยเกษตรกรจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยการ รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 ทั้งนี้เพราะสหกรณ์ สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆ ได้ดังนี้
1. ธุรกิจการซื้อ คือ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพืช และสิ่งของที่จําเป็นมาจําหน่ายแก่สมาชิก โดยจะสํารวจความต้องการของสมาชิกก่อน แล้วสหกรณ์ จะเป็นผู้จัดหามาจําหน่ายต่อไป ซึ่งเพราะการรวมซื้อในปริมาณมาก จะทําให้ซื้อได้ในราคาที่ต่ําลง และเมื่อถึง สิ้นปีหากสหกรณ์มีกําไรก็จะเงินจํานวนนี้มาเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกด้วย
2. ธุรกิจขายหรือการรวบรวมผลผลิต ให้แก่สมาชิกทําให้มีอํานาจการต่อรองมากขึ้น ผลผิตจะ ขายได้ในราคาสูง สมาชิกไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าในเรื่องการชั่ง ตวง วัด หรือถูกกดราคาในการรับซื้อ ผลผิต
3. ธุรกิจธนกิจ (สินเชื่อ)
3.1. การให้เงินกู้เมื่อ เกษตรกรรวมตัวกันเป็นสหกรณ์สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับสถาบัน การเงิน หน่วยงานของทางราชการและบุคคลทั่วๆ ไป โดยสหกรณ์จะจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ํามาให้สมาชิกกู้ไป ลงทุนเพื่อการเกษตร ซึ่งสหกรณ์จะพิจารณาจากแผนดําเนินการหรือแผนการใช้เงินกู้ของสมาชิกประกอบการ ให้เงินกู้เช่น สหกรณ์อาจให้เงินกู้แก่สมาชิกเพื่อนําไปซื้อวัสดุการเกษตร ค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในครอบครัว หรือ เพื่อนําไปบุกเบิกปรับปรุงที่ดิน หรือจัดซื้อที่ดินการเกษตร ในกรณีที่สมาชิกไม่มีที่ดินทํากิน หรือมีน้อยไม่ เพียงพอต่อการทําการเกษตร
3.2. การรับฝากเงิน เพื่อ ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักและเห็นคุณค่าประโยชน์ของการออมทรัพย์ และเพื่อเป็นการระดมทุนในสหกรณ์สหกรณ์จะรับเงินฝากจากสมาชิก 2 ประเภท คือ เงินฝากออมทรัพย์และ เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ โดยสหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์
4. ธุรกิจการส่งเสริมอาชีพและบริการ สหกรณ์อาจจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้าน การเกษตรคอยให้ความรู้และ คําแนะนําทางด้านการเกษตร หรืออาจขอความร่วมมือจากหน่วยราชการอื่น ใน การให้คําปรึกษาแนะนําให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการแผนใหม่ตลอดจนการวางแผนการผลิต ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณตรงกับความ ต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้กลุ่ม แม่บ้านสหกรณ์ทําอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
5. การศึกษาอบรม สหกรณ์ จะจัดให้มีการศึกษาอบรมแก่สมาชิก คณะกรรมการสหกรณ์ ผู้จัดการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงหลักการ วิธีการสหกรณ์ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล