การประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนแผนพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ "วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ดร.สุพจน์ วัฒนวิเชียร สหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยคณะ เข้าร่วม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนแผนพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ"ณ โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิด ซึ่งในการจัดประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทางปฏิบัติในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ให้เป็นองค์กรระดับอำเภอ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ประธานกรรมการและผู้จัดการสหกรณ์ระดับอำเภอ สหกรณ์จังหวัด และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของสหกรณ์ซึ่งท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กล่าวถึงการพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์ ว่าด้วยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความประสงค์ให้สหกรณ์ดูแลเรื่องการผลิต การรับซื้อ การแปรรูปด้านต่างๆ จากเกษตรกร ดังนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้มีการขับเคลื่อนให้สหกรณ์เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอเพื่อให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งและสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่เกษตรกร ซึ่งท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีการมอบหมายให้สหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัดได้วิเคราะห์ข้อมูลของสหกรณ์ซึ่งพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องปัญหาหนี้สินของสหกรณ์และสาเหตุหลักที่หนี้ค้างชำระมาจากปัญหาที่สมาชิกไม่มีเงินมาชำระหนี้ จึงเห็นว่าควรมีการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับสหกรณ์โดยทำทั้งระบบทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกที่มีอยู่ในปัจจุบันและการส่งเสริมอาชีพเพื่อให้สมาชิกมีรายได้และนำมาชำระหนี้ให้กับสหกรณ์โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต ซึ่งได้แนะนำให้สหกรณ์มีการสำรวจความต้องการของตลาดเพื่อหาแหล่งจำหน่ายที่แน่นอน จากนั้นสหกรณ์ก็คัดเลือกสมาชิกที่มีความตั้งใจ ขยัน และมีวินัยทางการเงินเข้าร่วมโครงการเพื่อผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยสหกรณ์ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ในการผลิตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนด้านเงินทุน การจัดหาปัจจัยการผลิต การรับซื้อ การแปรรูป และการตลาดให้กับสมาชิก ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกมีแหล่งจำหน่ายที่แน่นอน และมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถชำระหนี้ให้สหกรณ์ได้ นอกจากนี้ได้มีการกล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 ซึ่งมีหลักๆ อยู่ 3 ประเด็น คือ
1. กล่าวถึงเจตนารมณ์ในการแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นหลักเพื่อให้สามารถออกเกณฑณ์กำกับสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เพื่อปกป้องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสมาชิก
2 เรื่องอำนาจนายทะเบียนสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง ได้มีการแก้ไขเกี่ยวกับการยื่นอุทธรณ์เพื่อให้สามารถดำเนินการให้เร็วขึ้น
3 บทกำหนดโทษผู้ที่กระทำให้สหกรณ์เสียหายและประเด็นสุดท้ายได้กล่าวถึงเรื่องโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งได้เน้นย้ำให้สหกรณ์มีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า หากสหกรณ์ใดที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้กลับไปวางแผนการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดของโครงการไทยนิยมยั่งยืนให้คุ้มค่า
http://sahakornthai.com/muangsamsib/index.php/7458/6589/26-panpatana#sigFreeId185bef8d8e