ประวัติสหกรณ์การเกษตรหนองหญ้าไซ   จำกัด

สหกรณ์การเกษตรหนองหญ้าไซ  จำกัด  เกิดจากเกษตรกรเขตอำเภอหนองหญ้าไซ  ในพื้นที่  4  ตำบล  (ในขณะนั้น)     ได้มีการรวมตัวกันโดยการรวบรวมของสหกรณ์อำเภอสามชุก   คือ   คุณนาค    ฉายอรุณ        นัดประชุม    ทำใบสมัครและประชุมเมื่อ   7  มกราคม  2529  มีการลงชื่อเพื่อขอการจัดตั้ง  มีเกษตรกรร่วมประชุม  350  คน  โดยมีนายอำเภอสามชุก  นายกมล  เป็นประธานที่ประชุม  ในที่ประชุมเลือกตัวแทนเป็นคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จำนวน    14   ท่าน   และมอบหมายให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์  ท่านสหกรณ์จังหวัด   (ขณะนั้นคือ  คุณสกล  อุ่มอยู่)  เป็นผู้ดำเนินการขอจดทะเบียนตามหนังสือ  สทส.(ก) 8/2529  แล้วเริ่มประชุมคณะกรรมการครั้งแรกเมื่อ  7  กุมภาพันธ์  2529  สิ้นปีบัญชี  ณ  31  มีนาคม  2529  มีสมาชิกทั้งสิ้น  374  คน  จำนวน  15  กลุ่ม  ทุนดำเนินงาน    95,600   บาท  สำนักงานเช่าทำการอยู่ห้องแถว  คณะกรรมการทำเรื่องขอเปิดบัญชีเครดิตกับ  ธ.ก.ส.  ซึ่ง  ธ.ก.ส.  ก็ยินดี  แต่ขอให้มีการจัดจ้างผู้จัดการและพนักงานบัญชีในการทำงานเป็นอย่างน้อย  คณะกรรมการซึ่งจัดจ้างผู้จัดการวุฒิปริญญาตรี  เงินเดือน  2,500   บาท  และพนักงานบัญชีวุฒิ  ปวช.  เงินเดือน  1,800  บาท  แล้วเปิดวงเงินกู้ยืมครั้งแรก  1  ล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจสินเชื่อ  ซื้อ  ขายและบริการ  ดำเนินการเลื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

  1. ด้านบุคคลากร

 

            กรรมการ           เริ่มปี   2529   มีคณะกรรมการ   15  ท่าน  โดยมีคุณลูกคิด  โอภาสวัฒนา  เป็นประธาน  ต่อมาตั้งแต่ปี   2530    จนถึงปัจจุบัน  มีคุณประยูร  สุทะปัญญา  เป็นประธาน  และมีคณะกรรมการดำเนินการ  14    ท่าน

            พนักงาน            ปี  2529  มีพนักงาน  2  คน  คือ  นางสาวนิตยา   สว่างศรี    (นางนิตยา   จันชัยภูมิ)  และ  นางสาวเสนอ   ทองสุข  (ลาออก)  จนปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมด  11  คน  คือ  พนักงานสินเชื่อ  3  คน  การตลาด   2   คน   บัญชี   1  คน   การเงิน  1  คน  ธุรการ  1  คน  คนขับรถ  1  คน  สมาคมฌาปนกิจ  1  คน  และผู้จัดการ

            ฝ่ายส่งเสริมสหกรณ์        สหกรณ์อำเภอคนแรก   คุณสมชาย   จิระสถิตพร    และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม  คุณอ้อยทิพย์    เกิดบุญ    ซึ่งมีสหกรณ์อำเภอมาแล้ว   4   ท่าน     จนถึงปัจจุบันคือ    คุณอรุณศรี    เรือนใจมั่น  เป็นสหกรณ์อำเภอ  และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม    คือ    คุณพิชัย     ปานแก้ว

            สมาชิก              เริ่มจัดตั้งมีสมาชิกลงชื่อ   350 คน  จำนวน  15  กลุ่ม   ในเขต   4   ตำบล  ของกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ  จนปัจจุบันมีสมาชิก  1,690  คน  จำนวน  60  กลุ่ม  ในเขต  6  ตำบล  (มีการจัดเขตตำบลใหม่)  และเปลี่ยนเป็นอำเภอหนองหญ้าไซ 

  1. การดำเนินธุรกิจ

           

เริ่มตั้งแต่ปี   2529     สหกรณ์ได้ดำเนินธุรกิจ   ดังนี้

            -           ธุรกิจสินเชื่อ       โดยเปิดวงเงินกู้ยืมกับทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เริ่มแรกวงเงินกู้   1   ล้านบาท   โดยได้รับการอนุเคราะห์จากท่าน   ผอ. ไพบูลย์    (เดิมเป็นผู้จัดการ  ธ.ก.ส. สาขาสามชุก)    จนปัจจุบันขยายวงเงินกู้ยืม   อยู่ที่   45.1   ล้านบาท    มีการให้สินเชื่อสมาชิกระยะสั้น  และระยะปานกลาง   จาก    1.5   ล้านบาท    จนปัจจุบันจ่ายถึง    60    ล้านบาท

            -           ธุรกิจซื้อ            เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี  2529  โดยจำหน่าย  ปุ๋ย  ยาปราบ  และเครื่องอุปโภคบริโภค  และในปี  2536  เริ่มจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น  ในการดำเนินธุรกิจนี้ไม่ก่อให้เกิดกำไรกับสหกรณ์นัก  เนื่องจากมุ่งหวังให้สมาชิกได้ใช้ของดีมีคุณภาพและราคาถูก    เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเป็นสำคัญ     ปัจจุบันธุรกิจมีการดำเนินการประมาณ     5     ล้านบาท

            -           ธุรกิจบริการ       ปัจจุบันมีการให้บริการตลาดกลางข้าวเปลือกประจำตำบลและให้บริการขนส่งโดยรถหกล้อ   ซึ่งธุรกิจนี้ยังไม่มากเท่าที่ควร   เนื่องจากหนองหญ้าไซเป็นพื้นที่แห้งแล้ง  และค่อนข้างเป็นเมืองปิด  ผู้ใช้บริการจึงมีน้อย  ทำธุรกิจนี้ประมาณ   2   ล้านบาท

            -           การส่งเสริมอาชีพ            ปี 2529 สหกรณ์ส่งเสริมการทำกระเจี๊ยบแดง โดยมีสหกรณ์หุบกะพง  เป็นผู้ให้คำแนะนำซึ่งต่อมาราคาตกต่ำมาก   มีผลประทบต่อสมาชิกและสหกรณ์    จนถึงกรมส่งเสริมต้องเข้าช่วยแก้ไขในปี  2530  มีการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกดอกบานไม่รู้โรย   มีการทำสัญญากับบริษัทเอกชน  ซึ่งสมาชิกก็ไม่กล้าทำซึ่งทำให้สหกรณ์ประสบปัญหาส่งไม่ได้จนต้องหาจากแหล่งอื่นไปส่งให้บริษัท สมาชิกเน้นดี  เริ่มทำมากขึ้นจนล้นโควต้า  มีปัญหากับสหกรณ์อีกครั้ง จนปัจจุบัน  สหกรณ์ส่งเสริมในรูปกลุ่มสตรี  การถนอมอาหาร  การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมอาชีพ  เพื่อเป็นการเสริมรายได้แก่ครอบครัว

  1. ฐานะการเงินของสหกรณ์

                       

                                                                                                ปีบัญชี   2529                  ปีบัญชี   2541

สินทรัพย์หมุนเวียน                                                                     1,867,884.53                  70,356,973.64

ที่ดิน  อาคาร  (ทรัพย์สินถาวร)                                                            15,932.92                   10,923,025.59หนี้สินหมุนเวียน                                                                                    1,460,224.44                  58,975,831.64ทุนเรือนหุ้น                                                                                      404,800.00                  16,792,500.00

เงินสำรอง                                                                                         3,400.00                     3,964,777.92

กำไรสุทธิ                                                                                         17,393.01                       501,616.49

ทุนในการดำเนินงาน                                                                   1,885,817.45                  82,212,799.23

 

ด้านทรัพย์สิน

           

ปี   พ.ศ.  2529   สหกรณ์    ได้เช่าห้องแถวเป็นสถานที่ทำงาน    สหกรณ์ได้พยายามสร้างตัวปี   2532  ได้ซื้อที่ดิน  จำนวน  5  ไร่  1  งาน  โดยขอสมาชิกถือหุ้นซื้อที่ดินคนละ  500 บาท  โดยมิต้องขอยืมเงินเพื่อซื้อที่ดิน  และในปีต่อมาสหกรณ์ได้ก่อสร้างสำนักงานเป็นของตนเองบนที่ดินพื้นนั้น  และในปัจจุบันสหกรณ์ได้มีที่ดินทั้งหมด  15  ไร่  อาคารสำนักงาน  ลานตากข้าวตลาดกลางข้าวเปลือก  ยุ่งฉาง  และรถที่จะใช้ในการดำเนินงานเป็นของสหกรณ์เองแล้ว

การดำเนินงานของสหกรณ์จะดีได้ต้องประกอบด้วยดี  5  ประการ

  1. สมาชิกที่ดี คือ         การที่สมาชิกสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจต่อหลัก  วิธีการสหกรณ์ 

                                                สมาชิกให้ความร่วมมือต่อสหกรณ์อย่างดี

  1. กรรมการสหกรณ์ดี คือ        มีกรรมการที่ทำงานเพื่อส่วนรวมเสียสละและควบคุมการทำงานของ

                                                ฝ่ายจัดการให้เป็นตามแผนงานไม่ก้าวก่ายงานฝ่ายจัดการ

  1. ฝ่ายจัดการที่ดี คือ มีการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้อยู่ในกฎระเบียบ  ข้อบังคับ 

                                                มีการวางแผนงาน  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เป็นต้น

  1. ฝ่ายส่งเสริมที่ดี คือ        คอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
  1. ระบบงานที่ดี คือ        การทำงานที่มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า  มีการควบคุมการทำงานให้เป็นไป

ตามระบบแบบแผน  มีการประสานงานที่ดี  มีระเบียบ  เป็นต้น