กระบวนการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
1.การสั่งซื้อลูกปลา
สมาชิกจะทำการสั่งซื้อลุกปลาจากสหกรณ์ประมงพาน จำกัด สหกรณ์จะสั่งลูกปลาจากแหล่งเพาะพันธ์ที่มีคุณภาพเชื่อถือได้มาจำหน่ายให้แก่สมาชิก ปัจจุบันสหกรณ์ใช้บริการของบริษัทเชียงใหม่ฟาร์ม โดยลูกปลาจะมีตั้งแต่ราคา 40 สตางค์ต่อตัว 50 สตางค์ต่อตัว และ 1 บาท สตางค์ต่อตัว
ประเด็นเพิ่มเติม
1.ราคาลูกปลาในท้องตลาดนั้นมีราคาแพงกว่าสหกรณ์จำหน่ายสูงถึง 20 -40 สตางค์ สาเหตุที่ลูกปลาจากแหล่งอื่นแพงกว่าเนื่องจากกลุ่มเลี้ยงปลาเอกชนจะบวกค่าบริหารจัดการที่สูงและมุ่งหวังผลกำไรทุกขบวนการ
2.ประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากการซื้อลูกปลาสหกรณ์
2.1.ได้พันธ์ปลาคุณภาพจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
2.2.เมื่อซื้อปลาแล้วมีปัญหาสหกรณ์ได้ประสานความร่วมมือกับแหล่งผลิตลูกปลาว่าจะมีบริการเคลม/ดูแล/ชดเชยหากลูกปลาตายเกินกว่าอัตรารอดที่กำหนดไว้
2.3.เจ้าหน้าที่สหกรณ์สามารถควบคุมอัตราการปล่อย/การเลี้ยงปลาที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกได้
2.การบริการด้านสินเชื่อ
สหกรณ์ประมงพาน จำกัด มีระเบียบการให้สินเชื่อแก่สมาชิกที่จะใช้บริการสูงสุด800,000บาทต่อรายเพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้จ่ายในการลงทุนเลี้ยงปลา โดยจะเป็นการทำสัญญาเงินกู้มีเงื่อนไขในการทำสัญญาโดยใช้หลักทรัพย์และบุคคลในการค้ำประกัน
3.การบริการอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา
สหกรณ์จะดำเนินการสำรวจความต้องการของสมาชิกและเก็บข้อมูลอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา เพื่อนำมาประกอบการดำเนินการเรื่องบริการอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา ทำให้สหกรณ์มีอำนาจต่อรองกับบริษัทบริการอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา ช่วยให้สมาชิกได้รับสินค้ามีคุณภาพในการนำไปประกอบกิจการของตนเอง
ประเด็นเพิ่มเติม
1.ต้นทุนของสมาชิกลดลงอย่างไร/เท่าไหร่
1.1.ราคาอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา
- ที่สหกรณ์นำมาจำหน่ายให้กับสมาชิกถือว่ามีความเป็นธรรมเนื่องจากการตั้งราคาขายจะขอความเห็นชอบจากสมาชิกในทุกๆปีเมื่อมีการประชุมใหญ่ประจำปี
-ราคาถูกกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงปลาเอกชนเฉลี่ยลูกละ 20-100 บาท
-การซื้อ/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลาของสมาชิกทุกครั้งจะถูกบันทึกไว้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปเป็นเงินปันผลและเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกในช่วงสิ้นปีบัญชี
4.การบริการให้คำปรึกษาการเลี้ยงการดูแลและตรวจบ่อ/ปลา
สหกรณ์จะดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งและจะมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามและตัวแทนจำหน่ายอาหารปลาของแต่ละบริษัทลงพื้นที่ให้คำปรึกษาการเลี้ยงการดูแลและตรวจบ่อ/ปลาอยู่เสมอ
ประเด็นเพิ่มเติม
1.การบริการให้คำปรึกษาการเลี้ยงการดูแลและตรวจบ่อปลาส่งผลดีกับเกษตรกร ดังนี้
1.1.ทำให้เกษตรกรวางแผนในการเลี้ยงได้อย่างเหมาะสมตลอดระยะเวลาของการเลี้ยง
เช่น การเตรียมบ่อ ปริมาณการปล่อยปลา การเลือกใช้อาหาร การให้อาหาร
1.2.ช่วยแก้ไขปัญหาและบริหารความเสี่ยงอันจะเกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลา เช่น กรณีปลาน๊อค น้ำเสีย เป็นต้นที่ เกิดขึ้นให้กับเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
1.3.เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และพัฒนาการบริหารจัดการ และเพิ่มเทคโนโลยีในการเลี้ยงปลาแก่เกษตรกร
จากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นหากร่วมกันปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้เกษตรกรลดความเสี่ยงในการเลี้ยงปลาได้และจะนำสู่การมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงปลา ต่อไป
5.การบริการจับปลา
สหกรณ์บริการจับและจำหน่ายปลาให้แก่สมาชิกโดยทีมภาคสนามจะเป็นผู้ทำข้อมูลได้แก่ วันที่สมาชิกปล่อยปลา การสุ่มขนาดปลา การทำคิวจับปลาเมื่อปลาของสมาชิกได้ขนาดและตกลงกันว่าจะมีการจับปลา พร้อมกับนัดหมายพ่อค้าปลาให้มารับปลาที่บ่อ สหกรณ์จะเริ่มจับปลาในเวลาเช้าตรู่ตั้งแต่เวลา 04.00-10.00 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม
ลำดับ |
รายละเอียดกระบวนการจับปลา |
1 |
เจ้าหน้าที่ภาคสนามดำเนินการสุ่มขนาดปลาจากบ่อสมาชิกที่เลี้ยงปลาครบอายุการเลี้ยง (ดูข้อมูลจากบันทึกการปล่อยปลา/การรับแจ้งจากสมาชิก) |
2 |
กำหนดวันจับปลากับสมาชิก |
3 |
วันจับปลา |
3.1.บทบาทหน้าที่สมาชิก - ปล่อยน้ำออกจากบ่อปลาในสัดส่วนที่พอเหมาะไม่ลึกไม่ตื้นจนเกินไป โดยการปล่อยน้ำจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเย็นก่อนวันจับปลา - ทำความสะอาดและเตรียมสถานที่บริเวณรอบบ่อและในบ่อเพื่อให้สะดวกต่อการจับปลาและการจอดรถของพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อ - จัดเตรียมอาหารเช้าให้กับคนงานลากปลาและทีมภาคสนาม โดยอาหารที่เตรียมจะเป็นกับข้าวง่ายๆ (เป็นข้อดีที่แสดงออกถึงความมีน้ำใจของเกษตรกรกับคนงานจับปลาของสหกรณ์) |
|
3.2.บทบาทของทีมภาคสนาม |
|
- หัวหน้าภาคสนามนัดหมายพ่อค้าคนกลางเพื่อให้เข้ามารับปลาไปจำหน่าย - การขนสัมภาระในการจับปลาไปไว้ที่บ่อเพื่อเตรียมการจับปลาโดยจะขนไปเก็บไว้ที่บ่อล่วงหน้าก่อน - เวลา 04.00 น. นัดหมายรวมพลทีมจับปลา ณ สหกรณ์ประมงพาน จำกัด - เวลา 05.00 -09.00 น.ลงอวนจับปลาและนำปลาขึ้นมาชั่งจำหน่ายให้กับพ่อค้า -เวลา09.00-10.00 น.เก็บสัมภาระเดินทางกลับสำนักงานพร้อมกับส่งเงินให้กับฝ่ายการเงินเพื่อดำเนินการขั้นต่อไป |
ในการจับปลาของสหกรณ์จะมีการสำรวจปริมาณปลาก่อนการจับทำให้ควบคุมปลาที่จะจับได้ในแต่ละวัน ซึ่งโดยเฉลี่ยสหกรณ์จะจับปลาในแต่ละวันประมาณ 3,000 กิโลกรัม หากบ่อสมาชิกมีปริมารปลาตามจำนวนก็จะจับบ่อเดียวหากจำนวนปลาไม่พอจะมีการเตรียมบ่อที่จะจับในวันดังกล่าวไว้จำนวน 2 บ่อ
ปลาที่จับได้สหกรณ์จะจำหน่ายแก่พ่อค้าคนกลางที่เข้ามาเป็นสมาชิกรับปลากับสหกรณ์และมีพ่อค้าภายนอกบางส่วน ปลาที่พ่อค้ารับไปจะถูกนำไปขายต่อในตลาดในเขตภาคเหนือตอนบนต่อไป