สารคดีประมงพาน

Royal 9 meet pan
สารคดีเฉลิมพระเกียรติ ร.9 สหกรณ์สร้างพลัง : ตอนที่ 7
   รวมกลุ่มเลี้ยงปลานิล ช่วยเหลือกันเพิ่มรายได้
North Tilapia learn coop
องศาเหนือ : ปลานิลถิ่นเหนือ  ศูนย์เรียนรู้การสหกรณ์ประมงพาน จำกัด
   

 

     

 

news1

parn11

 1  3

  2  5

4

องค์ความรู้ในการเลี้ยงปลานิล  ของ สหกรณ์ประมงพาน จำกัด

          ปลานิล นับเป็นปลาน้ำจืดที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย  และใน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ถือเป็นแหล่งเลี้ยงปลานิลที่มีชื่อเสียง และมีคุณภาพ สหกรณ์ประมงพาน  จำกัดเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้เลี้ยงปลา นิลโดยมีแนวคิดการพึ่งพา การช่วยเหลือและสร้างอำนาจต่อรองกับกลุ่มพ่อค้าคนกลาง  ตลอดระยะเวลาของการก่อตั้งได้มีองค์ความรู้ในการเลี้ยงปลานิลอย่างมากมาย โดยองค์ความรู้และปัจจัยสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงปลานิล ได้แก่

  1. คุณภาพน้ำเหมาะสม 
  •        - มีความเป็นกรดเป็นด่าง (PH)  อยู่ระดับ  6.5 – 8.8
  •        - อุณหภูมิในรอบวันไม่แตกต่างกันมากอยู่ที่ 30 -32 ซ
  •        - ปริมาณออกซิเจนในน้ำเหมาะสมอยู่ที่ 4-7  มก./ล.
  •        - ปริมาณแพลงก์ตอนในน้ำเหมาะสมสีไม่ขุ่นหรีอเขียวมากเกินไป
  1. พันธุ์ปลาสมบูรณ์แข็งแรง
  •        - ลูกปลาได้จากพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์อายุไม่มากหรือน้อยเกินไป ได้จากแหล่งที่เชื่อถือได้
  1. อาหารมีคุณภาพทางโภชนาการเหมาะสมกับปลานิลแต่ละวัย
  •       - วัยลูกปลาอนุบาล(อายุ1-2 เดือน)ให้อาหารโปรตีน 30 – 32 % ปริมาณ 5-6 % ของน้ำหนักปลา
  •       - อายุ 2-5 เดือน ให้อาหารที่มีโปรตีน /25-30 %  ปริมาณ 3-5 % 
  •       - อายุ 5 เดือน จนถึงจับขาย ให้อาหารที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 25 %
  1. การจัดการเลี้ยงที่เหมาะสม ตามมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำที่ดีหรือ GAP

             ได้แก่ ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยง การเตรียมบ่อ เตรียมลูกพันธุ์ปลา การจัดการน้ำในบ่อ  การจัดการเรื่องอาหารดังกล่าว  จัดการสุขลักษณะฟาร์ม การจับปลาจำหน่ายและการบันทึกข้อมูลทุกขั้นตอนการเลี้ยง

  1. สุขอนามัยฟาร์มที่ดี  ได้แก่ 
  •       - ระบบน้ำทิ้งทั้งบ้านและบ่อเลี้ยง
  •       - ระบบจัดการของเสียถูกสุขลักษณะไม่ปนเปื้อนลงในบ่อ
  •       - ห้องสุขาถูกสุขลักษณะ
  •       - จัดอุปกรณ์ เครื่องมือ ถูกสุขลักษณะพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  1. การหมั่นศึกษาหาความรู้และเทคนิคใหม่ที่เท่าทันเหตุการณ์ 

            ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคปลานิล การเตรียมบ่อ  คุณภาพอาหารปลา  เป็นต้น

การขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่าย (ขอรายละเอียดความร่วมมือของทั้ง 3 ข้อ ด้านล่าง ว่าดำเนินการเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลที่คาดหรือผลการดำเนินการ)

1.ชุมนุมสหกรณ์ประมงแห่งประเทศไทย

               เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของสหกรณ์ประมงทั่วประเทศ ได้จดทะเบียนสหกรณ์ประเภทสหกรณ์ประมง เลขทะเบียนสหกรณ์ที่ 5700000325581 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 มีสำนักงานตั้งอยู่ตำบลสันติสุข อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สหกรณ์สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม โดยใช้หลักคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์และจริยธรรมอันดีงาม อันมีการประหยัด เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์สมาชิกและส่วนรวม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม     จนสามารถอยู่ดีกินดีมีสันติสุข

2.เครือข่ายผู้เลี้ยงปลาเมืองพาน

                อำเภอพาน เป็นอำเภอที่มีผู้เลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก และได้เกิดกลุ่มธุรกิจเอกชนในการส่งเสริมการเลี้ยงปลามากกว่าสิบกลุ่ม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาดำเนินธุรกิจโดยการแข่งขันกันอยู่เสมอ ทำให้เกิดปัญหาทั้งในระบบการผลิตและการจำหน่ายปลาในตลาด

เครือข่ายผู้เลี้ยงปลาเมืองพาน ถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่มที่มีแนวคิดร่วมกันในการรวมตัวกันเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินการและการจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งเรื่องสมาชิก   การเพาะเลี้ยงและราคาจำหน่ายปลา ซึ่งผลดีของการรวมกลุ่มทำให้เกิดมาตรฐานในการดำเนินการและสามารถสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้ เป็นอย่างดีพร้อมกับเกิดมิติการทำงานร่วมกันที่หลากหลายขึ้น เช่นการจัดงานกินปลาเมืองพาน  อันเป็นการแสดงอัตลักษณ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่

3.เครือข่ายผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์

                เป็นเครือข่ายอันเกิดจากนโยบายของรัฐที่เข้ามาหนุนเสริมสหกรณ์ให้ขับเคลื่อนเรื่องผลิตภัณฑ์แปรรูป  โดยสหกรณ์ได้ดำเนินการเรื่องการแปรูปผลิตภัณฑ์จากกปลานิลขึ้นและได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการพัฒนาสินค้า การขยายตลาด  และการขยายเครือข่าย

โครงการที่สหกรณ์ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ

                1.การส่งเสริมให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกเลี้ยงปลาคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ของกรมประมง- จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมดำเนินการ และจำนวนที่ได้มาตรฐานแล้วกี่ราย

                 ปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จำกัด  ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน  GAP แล้วจำนวน 90 คน และมีสมาชิกสนใจเข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งอยู่ในขั้นตอนการปรับบริเวณบ่อเพื่อเตรียมขอรับมาตรฐานกว่า 200ราย โดยสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงเร่งผลักดันให้เกษตรกรร่วมดำเนินการต่อไป

 

                2.การรณรงค์ให้เกษตรกรลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาตามนโยบายการส่งเสริมของรัฐเพื่อให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการบ่อ – ด้วยวิธีการอย่างไร แล้วช่วยลดรายได้ไปเท่าไร

                สหกรณ์ประมงพาน จำกัด เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกลดต้นทุนในการเลี้ยงปลา  โดยการให้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและบริษัทอาหารมาให้ความรู้ โดยเน้นตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นในการเลี้ยงปลา  ได้แก่

                1.การคัดเลือกลูกปลาที่มีคุณภาพมาให้บริการเกษตรกร และแนะนำอัตราการปล่อยที่เหมาะสมให้สมาชิก

                2.ความรู้เรื่องการบริหารจัดการภายในบ่อ เช่น การเตรียมน้ำ   การเตรียมบ่อ  การตรวจสอบคุณภาพน้ำ และโรคปลา

                3.อาหาร  การเลือกใช้อาหารในการเลี้ยงและการให้อาหารเสริมในการเลี้ยงปลา  แนะนำสัดส่วนการให้อาหา

                4.การส่งเสริมความรู้ในการเลี้ยงปลาให้เกษตรกรโดยการอบรมและการศึกษาดูงาน

กระบวนการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

1.การสั่งซื้อลูกปลา

                สมาชิกจะทำการสั่งซื้อลุกปลาจากสหกรณ์ประมงพาน จำกัด สหกรณ์จะสั่งลูกปลาจากแหล่งเพาะพันธ์ที่มีคุณภาพเชื่อถือได้มาจำหน่ายให้แก่สมาชิก  ปัจจุบันสหกรณ์ใช้บริการของบริษัทเชียงใหม่ฟาร์ม โดยลูกปลาจะมีตั้งแต่ราคา 40 สตางค์ต่อตัว  50 สตางค์ต่อตัว  และ 1  บาท สตางค์ต่อตัว

ประเด็นเพิ่มเติม

1.ราคาลูกปลาในท้องตลาดนั้นมีราคาแพงกว่าสหกรณ์จำหน่ายสูงถึง 20 -40 สตางค์ สาเหตุที่ลูกปลาจากแหล่งอื่นแพงกว่าเนื่องจากกลุ่มเลี้ยงปลาเอกชนจะบวกค่าบริหารจัดการที่สูงและมุ่งหวังผลกำไรทุกขบวนการ

2.ประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากการซื้อลูกปลาสหกรณ์

                2.1.ได้พันธ์ปลาคุณภาพจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้

                2.2.เมื่อซื้อปลาแล้วมีปัญหาสหกรณ์ได้ประสานความร่วมมือกับแหล่งผลิตลูกปลาว่าจะมีบริการเคลม/ดูแล/ชดเชยหากลูกปลาตายเกินกว่าอัตรารอดที่กำหนดไว้

                2.3.เจ้าหน้าที่สหกรณ์สามารถควบคุมอัตราการปล่อย/การเลี้ยงปลาที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกได้

2.การบริการด้านสินเชื่อ

                สหกรณ์ประมงพาน  จำกัด มีระเบียบการให้สินเชื่อแก่สมาชิกที่จะใช้บริการสูงสุด800,000บาทต่อรายเพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้จ่ายในการลงทุนเลี้ยงปลา โดยจะเป็นการทำสัญญาเงินกู้มีเงื่อนไขในการทำสัญญาโดยใช้หลักทรัพย์และบุคคลในการค้ำประกัน

3.การบริการอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา

                สหกรณ์จะดำเนินการสำรวจความต้องการของสมาชิกและเก็บข้อมูลอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา เพื่อนำมาประกอบการดำเนินการเรื่องบริการอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา ทำให้สหกรณ์มีอำนาจต่อรองกับบริษัทบริการอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา ช่วยให้สมาชิกได้รับสินค้ามีคุณภาพในการนำไปประกอบกิจการของตนเอง

ประเด็นเพิ่มเติม

                1.ต้นทุนของสมาชิกลดลงอย่างไร/เท่าไหร่

                                1.1.ราคาอาหาร/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลา

-  ที่สหกรณ์นำมาจำหน่ายให้กับสมาชิกถือว่ามีความเป็นธรรมเนื่องจากการตั้งราคาขายจะขอความเห็นชอบจากสมาชิกในทุกๆปีเมื่อมีการประชุมใหญ่ประจำปี

-ราคาถูกกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงปลาเอกชนเฉลี่ยลูกละ 20-100 บาท

-การซื้อ/เวชภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ การเลี้ยงปลาของสมาชิกทุกครั้งจะถูกบันทึกไว้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปเป็นเงินปันผลและเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกในช่วงสิ้นปีบัญชี

4.การบริการให้คำปรึกษาการเลี้ยงการดูแลและตรวจบ่อ/ปลา

                สหกรณ์จะดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา  อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งและจะมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามและตัวแทนจำหน่ายอาหารปลาของแต่ละบริษัทลงพื้นที่ให้คำปรึกษาการเลี้ยงการดูแลและตรวจบ่อ/ปลาอยู่เสมอ

ประเด็นเพิ่มเติม

1.การบริการให้คำปรึกษาการเลี้ยงการดูแลและตรวจบ่อปลาส่งผลดีกับเกษตรกร  ดังนี้

                1.1.ทำให้เกษตรกรวางแผนในการเลี้ยงได้อย่างเหมาะสมตลอดระยะเวลาของการเลี้ยง

เช่น การเตรียมบ่อ   ปริมาณการปล่อยปลา  การเลือกใช้อาหาร  การให้อาหาร 

                1.2.ช่วยแก้ไขปัญหาและบริหารความเสี่ยงอันจะเกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลา เช่น กรณีปลาน๊อค  น้ำเสีย  เป็นต้นที่ เกิดขึ้นให้กับเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที

                1.3.เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และพัฒนาการบริหารจัดการ และเพิ่มเทคโนโลยีในการเลี้ยงปลาแก่เกษตรกร

                จากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นหากร่วมกันปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้เกษตรกรลดความเสี่ยงในการเลี้ยงปลาได้และจะนำสู่การมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงปลา ต่อไป

5.การบริการจับปลา

                สหกรณ์บริการจับและจำหน่ายปลาให้แก่สมาชิกโดยทีมภาคสนามจะเป็นผู้ทำข้อมูลได้แก่ วันที่สมาชิกปล่อยปลา  การสุ่มขนาดปลา  การทำคิวจับปลาเมื่อปลาของสมาชิกได้ขนาดและตกลงกันว่าจะมีการจับปลา  พร้อมกับนัดหมายพ่อค้าปลาให้มารับปลาที่บ่อ  สหกรณ์จะเริ่มจับปลาในเวลาเช้าตรู่ตั้งแต่เวลา 04.00-10.00 น.

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลำดับ

รายละเอียดกระบวนการจับปลา

1

เจ้าหน้าที่ภาคสนามดำเนินการสุ่มขนาดปลาจากบ่อสมาชิกที่เลี้ยงปลาครบอายุการเลี้ยง

(ดูข้อมูลจากบันทึกการปล่อยปลา/การรับแจ้งจากสมาชิก)

2

กำหนดวันจับปลากับสมาชิก

3

วันจับปลา

 

3.1.บทบาทหน้าที่สมาชิก

   - ปล่อยน้ำออกจากบ่อปลาในสัดส่วนที่พอเหมาะไม่ลึกไม่ตื้นจนเกินไป โดยการปล่อยน้ำจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเย็นก่อนวันจับปลา

   - ทำความสะอาดและเตรียมสถานที่บริเวณรอบบ่อและในบ่อเพื่อให้สะดวกต่อการจับปลาและการจอดรถของพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อ

  - จัดเตรียมอาหารเช้าให้กับคนงานลากปลาและทีมภาคสนาม โดยอาหารที่เตรียมจะเป็นกับข้าวง่ายๆ (เป็นข้อดีที่แสดงออกถึงความมีน้ำใจของเกษตรกรกับคนงานจับปลาของสหกรณ์)

 

3.2.บทบาทของทีมภาคสนาม

 

   - หัวหน้าภาคสนามนัดหมายพ่อค้าคนกลางเพื่อให้เข้ามารับปลาไปจำหน่าย

   - การขนสัมภาระในการจับปลาไปไว้ที่บ่อเพื่อเตรียมการจับปลาโดยจะขนไปเก็บไว้ที่บ่อล่วงหน้าก่อน

  - เวลา 04.00 น. นัดหมายรวมพลทีมจับปลา ณ สหกรณ์ประมงพาน จำกัด

- เวลา 05.00 -09.00 น.ลงอวนจับปลาและนำปลาขึ้นมาชั่งจำหน่ายให้กับพ่อค้า

-เวลา09.00-10.00 น.เก็บสัมภาระเดินทางกลับสำนักงานพร้อมกับส่งเงินให้กับฝ่ายการเงินเพื่อดำเนินการขั้นต่อไป

ในการจับปลาของสหกรณ์จะมีการสำรวจปริมาณปลาก่อนการจับทำให้ควบคุมปลาที่จะจับได้ในแต่ละวัน ซึ่งโดยเฉลี่ยสหกรณ์จะจับปลาในแต่ละวันประมาณ 3,000 กิโลกรัม หากบ่อสมาชิกมีปริมารปลาตามจำนวนก็จะจับบ่อเดียวหากจำนวนปลาไม่พอจะมีการเตรียมบ่อที่จะจับในวันดังกล่าวไว้จำนวน 2 บ่อ

ปลาที่จับได้สหกรณ์จะจำหน่ายแก่พ่อค้าคนกลางที่เข้ามาเป็นสมาชิกรับปลากับสหกรณ์และมีพ่อค้าภายนอกบางส่วน ปลาที่พ่อค้ารับไปจะถูกนำไปขายต่อในตลาดในเขตภาคเหนือตอนบนต่อไป